http://www.dailynews.co.th/entertainment/117407
วันนี้ (31 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ผอ.สร้างภาพยนตร์ไทยเรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนกับกรรมการสิทธิมนุษยชน ช่วยตรวจสอบกรณีถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 4 กรณีภาพยนตร์ไทยเรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ถูกคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ จึงไม่อนุญาตให้เผยแพร่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว โดยมีนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง สิทธิการเมือง และสิทธิสื่อ เป็นผู้รับเรื่อง ซึ่งในการเดินทางมาครั้งนี้ก็ได้นำแฟ้มรายงานคัดค้านแบบหนังไทย “เช็คเปียร์ต้องตายมาให้ด้วย 2 แฟ้ม ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นัการเมือง และประชาชนทั่วไป
นายมานิตกล่าวว่า เรื่องนี้ตนเคยได้ยื่นร้องเรียนไปยังรัฐบาลและหน่วยอื่นๆ อยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้น ตนต้องการให้ทางกรรมการสิทธิฯ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 ที่ระบุว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง เพื่อให้ทางคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ มีมติยกเลิกคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ทันที ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมและสร้างบรรทัดฐานใหม่ ด้านสิทธิเสรีภาพให้เกิดขึ้นแก่สื่อภาพยนตร์ไทย ซึ่งถูกกดขี่ โดยกฎระเบียบข้อบังคับที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้งก่อนหน้านี้หนังที่ดูแล้วย้อนอดีต 14 หรือ 6 ตุลา หรือภาพยนต์ เรื่องลิฟท์แดง ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับนักศึกษาที่เสียชีวิตในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นยัง สามารถนำออกมาฉายได้ และอีกหลายๆเรื่องที่สะท้อนให้เห็นเรื่องของในอดีต จึงไม่เข้าใจว่าคณะกรรมการใช้มาตรฐานใดในการพิจารณา และดูแล้วมีลักษณะลักลั้นมีการใช้เหตุผลที่แปลก ๆ ทำให้เข้าใจได้ว่าจะเป็นการกลั้นแกล้ง และไม่พอใจหรือไม่มากกว่า ดั้งนั้นตนเห็นว่าหลังจากนี้ก็จะดำเนินการฟ้องต่อศาลปกครองต่อไปซึ่งต้องให้ ทันต่อเวลาที่กำหนดไว้ว่า ต้องร้องภายใน 90 วันหลังจากที่รับทราบผลจากคณะกรรมการฯ
ด้านนพ.นิรันดร์ กล่าวว่า หลังจากที่รับเรื่องมาแล้วก็จะนำมาดูและคิดว่าน่าต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องมาให้ความเห็น และจะให้เจ้าหน้าที่ทำหนังสือเชิญตัวแทนของกระทรวงวัฒนธรรมมาให้ข้อมูลในวัน ที่ 11 มิ.ย.นี้ ว่าแต่ละฝ่ายมีความคิดเห็นอย่างไร แล้วถึงนำผลของการตรวจสอบมาเป็นข้อมูลในการฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ ซึ่งคิดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ไม่เกิน 2 เดือนก็น่าจะแล้วเสร็จ เพราะเรื่องนี้มีเงื่อนเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องทางกสม.ก็ต้องดำเนินการโดยเร็ว ส่วนผู้ร้องจะไปฟ้องต่อศาลปกครองเอง หรือจะให้ทางกรรมการสิทธิฯดำเนินการฟ้องให้ ก็ต้องแล้วแต่การตัดสินใจของผู้ร้อง.
6.18.2012
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment