สื่ออังกฤษจับตาไทยแบน"เชคสเปียร์ต้องตาย"

5.28.2012

 


http://news.voicetv.co.th/global/35783.html


ข่าวการห้ามฉายภาพยนต์"เชคสเปียร์ต้องตาย" ของทางการไทย ถูกสื่อมวลชนอังกฤษหลายสำนักจับตามอง ในฐานะภาพสะท้อนถึงการขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองและการพาดพิงถึงสถาบันพระ มหากษัตริย์

การสั่งห้ามฉายภาพยนต์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนต์และวีดิทัศน์ของไทย ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนนานาชาติอีกด้วย โดยเฉพาะในอังกฤษ ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นพิเศษ รวมทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของ "แมคเบธ" บทประพันธ์ชื่อดังของเชคสเปียร์ ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนต์เรื่องนี้อีกด้วย


สำนักข่าวบีบีซีวิเคราะห์ว่า การห้ามฉายภาพยนต์เรื่องดังกล่าวอาจเกิดจากการที่เนื้อหาของภาพยนต์เกี่ยว พันกับการแก่งแย่งอำนาจและการโค่นล้มทางการเมือง รวมถึงการที่ภาพความรุนแรงและการประท้วงโดยกลุ่มคนเสื้อแดงผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกนำมาใช้ในหลายฉากของภาพยนต์ อีกทั้งยังมีการใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์แทนฆาตรกรและตัวร้ายในภาพยนต์อีกด้วย


นอกจากนี้ ทางบีบีซียังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ภาพยนต์เชคสเปียร์ต้องตาย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพตท.ทักษิณ แต่กลับถูกห้ามฉายในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ในขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน วิจารณ์ว่าเนื้อหาของภาพยนต์ที่เกี่ยวกับความพยายามในการโค่นล้มสถาบัน กษัตริย์ ซึ่งดัดแปลงมาจากบทประพันธ์แมคเบธ ทำให้ภาพยนต์เรื่องดังกล่าวถูกมองว่านำเสนอในประเด็นที่อ่อนไหวต่อการสร้าง ความขัดแย้งภายในประเทศ รวมถึงตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้กำกับภาพยนต์ ที่ยืนยันว่า คณะกรรมการห้ามฉายเชคสเปียร์ต้องตาย เนื่องจากเห็นว่าภาพยนต์เรื่องนี้สื่อถึงแนวคิดต้านสถาบันกษัตริย์อย่างเด่น ชัด รวมถึงมีฉากที่เลียนแบบภาพการแขวนคอนักศึกษาในการประท้วงเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2519


ทั้งนี้ เดอะ การ์เดียน ยังกล่าวอีกว่า การสั่งห้ามฉายภาพยนต์เชคสเปียร์ต้องตาย สะท้อนให้เห็นถึงการควบคุมการแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะกรณีที่มีการพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเข้มงวดขึ้นอย่างมากหลังจากการรัฐประหารเมื่อปี 2549 ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการตั้งคำถามต่อบทบาทของสถาบันหลักใน ประเทศ
Produced by VoiceTV

0 comments: