อาลัย น้ำมนต์ /Remembering our Malcolm

4.12.2020

 


ENGLISH please scroll down

อาลัย น้ำมนต์ จ้อยรักษา

              เมื่อเช้านี้ (เสาร์ 11 เม.ย. 63) ขณะทำโยคะและนั่งวิปัสสนาตามปกติทุกวัน  อยู่ดีๆ ฉันเกิดอาการคับแค้นและขมขื่นในชะตากรรมของ เชคสเปียร์ต้องตาย ถึงขั้นอยากเป็นแม่มดจริงๆ  จะได้สาปแช่งผู้ที่กระทำความอยุติธรรมแก่เราให้ฉิบหายไป เจ็ดชั่วโคตร  หรือไม่ก็ซื้อปืนไปยิงแม่งให้ตายให้หมด  ความรู้สึกนี้ระเบิดขึ้นมาเฉยๆ ราวกับภูเขาไฟอย่างไร้เหตุผล
              เมื่อกี้นี้ พี่สกุล บุณยทัต (บุญรอด) โทรมาบอกว่า  น้ำมนต์เสียชีวิตแล้ว  จะเผาวันนี้  และเราไปงานศพไม่ได้เพราะกรุงเทพกำลังล็อคดาวน์  อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
              เพื่อชาติที่แบนผลงานที่ดีที่สุดของน้ำมนต์  และยังคงแบนอยู่ 8 ปี ให้หลัง
              หรือว่าน้ำมนต์มาหาเมื่อเช้านี้  มาบอกลา  และระบายความเศร้าเสียใจที่เจ้าฟ้ามั่นคำของเขาไม่เคยได้ออกฉาย  ก่อนที่เขาจะตายในวัยเพียง 38 ปี
              21 เมษายน 2553  มาถึงวันนี้สิบปีเกือบพอดี  เป็นวันเปิดกล้องของ เชคสเปียร์ต้องตาย ท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ตึงเครียดจากการประท้วงของผู้สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร ที่ราชประสงค์  กองถ่ายรวมตัวกันที่บ้านแฮรี่  แถวพระโขนงแต่เช้าตรู่  ห่างไกลจากการชุมนุมดังกล่าว  คิวบังคับให้เราต้องเผดิมศึกด้วยฉากที่ยากที่สุดที่จะทำให้ดีได้  คือฉากที่เมฆดับ (หมอวิลลี่ - นพ.ชัชดนัย มุสิกไชย) เดินทางไปอ้อนวอนเจ้าฟ้ามั่นคำ (น้ำมนต์) ที่ลี้ภัยอยู่ต่างแดนให้กลับมาช่วยกันกู้ชาติจากทรราชอันโหดเหี้ยม  ซึ่งแฮรี่ บุณยรักษ์ ใจดีให้เราใช้คฤหาสน์แสนสวยของเขาเป็นวังของมั่นคำ
              ฉากนี้มีนักแสดงเพียงสามคน: น้ำมนต์, หมอวิลลี่ และพี่สกุล ที่เล่นเป็นบุญรอด  ผู้ต้องนำข่าวร้ายมาบอกว่า  ลูกเมียของหมอวิลลี่โดนทรราชสังหารหมดสิ้น  ฉากนี้ปราศจากความฟู่ฟ่าหลอกหลอน  ต่างจากฉากอื่นๆ ในบทละครแม็คเบ็ธ ซึ่งเราเดินตามแทบทุกพยางค์  มีเพียง หัวพูดๆ  ตั้งแต่ต้นจนจบ  ถ้านักแสดงมือไม่ถึง  ใจไม่แท้  ทุกอย่างก็จะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง  แต่ในสองวันแรกนั้นสามคนนี้  ทำให้ทั้งกองถ่ายโล่งอกและภาคภูมิใจ  ว่าสิ่งที่เรากำลังทุ่มเทสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นมีคุณค่าแน่นอน
              ในคณะละครของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์  นักแสดงที่มีอยู่ไม่มากจะต้องเล่นหลายบท  ตามประเพณีนี้  นอกจากเจ้าฟ้ามั่นคำ  น้ำมนต์ยังเล่นเป็น อีกาพญายม ที่คุณหญิงเมฆเด็ดเรียกมาสิงสู่ตนอีกด้วย  และพญายมผู้ถือมีดที่เมฆเด็ดเห็นลอยอยู่ในความมืดหน้าห้องบรรทม  ซึ่งน้ำมนต์ก็เล่นได้อย่างลึกซี้ง  ไม่เกินเลย  และด้วยความเคารพ  เพราะเขาเป็นคนที่เต็มไปด้วยความลึกซึ้งและความเคารพในสิ่งเร้นลับ  หากว่าอาถรรพ์แม็คเบ็ธมีจริง  ก็ไม่น่ามาคร่าชีวิตทั้งของน้ำมนต์  และหมอวิลลี่ที่เพิ่งจากไปก่อนหน้านี้ไม่นาน
              น้ำมนต์เอ๋ย  เจ้าฟ้ามั่นคำที่รักยิ่งของทุกคน  เธอช่างสวยงามและอาภัพ  ฉันเสียใจที่สุดที่คนไทยยังไม่เคยดูเจ้าฟ้ามั่นคำถกเถียงกับเมฆดับ  เรื่องคุณลักษณะของผู้นำ – ผู้ปกครองแผ่นดินที่เชคสเปียร์เขียนเมื่อ 400 ปีก่อนและยังเหมาะสมกับทุกยุคสมัย  ฉันเสียใจที่เธอไม่เคยได้หลายสิ่งหลายอย่างที่เธอสมควรได้รับ  แล้วเราจะสู้ต่อไปนะจ๊ะ  ขอให้เธอนอนตาหลับ  เป็นสุขสงบ  ด้วยความรู้เช่นเห็นชาติในความยิ่งใหญ่ของผลงาน  ที่เธอสร้างทิ้งไว้ให้เราบนแผ่นฟิล์ม

                                                                              รักมาก
                                                                                 อิ๋ง กาญจนะวณิชย์
                                                                                  ผู้กำกับเชคสเปียร์ต้องตาย
                                                                                        11 เมษายน 2563













Remembering our Malcolm: Nammon Joiraksa

This morning (Saturday 11 April 2020) during my daily, routine and humdrum yoga and meditation, in an instant I was overwhelmed by an extreme wave of bitter outrage over the fate of ‘Shakespeare Must Die’. Its heat was so intense that I longed to be a real witch so I could put a seven-generation curse on all slanderers and perpetrators of this injustice, or failing that, to rush out to buy a gun and shoot them all dead. This explosive energy erupted out of nowhere without any prompting.
Then Prof. Sakul Bunyatat (Ross) phoned to say that Nammon has died quit suddenly and will be cremated today, and we can’t go to the funeral because Bangkok is in Coronovirus Lockdown to “Stay Home, Stop the Virus, for the Nation”.
For the nation that banned Nammon’s greatest work as a national security threat, and continues to ban it today, 8 years later, as the case drags on at the Supreme Administrative Court.
Someone’s suggested that Nammon came to me this morning to say goodbye and to express his grief and disappointment that his Prince Malcolm was not released to the public before his death at the age of 38.

21 April 2010, almost exactly ten years ago, the first day of filming on ‘Shakespeare Must Die’ amidst the tense political atmosphere of street protests by Thaksin Shinwatra’s supporters in mid-town at Rajprasong, cast and crew congregated at a mansion in Phra Khanong since early morning, far away from the protest mayhem. A host of developments forced us to begin with the hardest scene to get right: Macduff (Chatdanai Musigchai or ‘Doc Willie’) visits Malcolm (Nammon) to persuade him to return from exile to liberate his homeland from bloody tyranny. Harry Bunyaraks had generously allowed us to use his beautiful house as Malcolm’s palace.
Only three actors in this scene: Nammon, Doc Willie and Prof. Sakul, who plays Ross, bringer of terrible news of the tyrant’s massacre of Macduff’s wife and children. Unlike the rest of ‘Macbeth’, which we faithfully followed almost to a syllable, this scene is devoid of hallucinatory grandeur. It consists of talking heads from start to end. If the actors are not good enough, or untruthful, the whole thing would fail big time. But in those first two days, these three actors did us proud, blessing us with a huge sense of relief and the conviction that we were embarking on something very worthwhile.
In the Shakespearean practice of actors playing multiple parts, beside the role of Malcolm, Nammon also played ‘the Raven Himself’ as invoked by Lady M to thicken her blood and possess her heart, as well as red-hooded Death who holds the knife that beckons Macbeth to the Royal Chamber (my theatrical, low-cost alternative to the floating dagger). Nammon played both those parts with power, depth, restraint and reverence. He always had a deep respect for cosmic mystery. If the Macbeth Curse is at work as some are beginning to suggest, surely it shouldn’t have come for both Nammon and Doc Willie, who also died unexpectedly not long before.

Dearest Nammon, our beloved Malcolm, you are so beautiful, and so luckless. How sad that Thai people still haven’t seen Prince Malcolm’s discussion with Macduff on the qualities of leaders and rulers of men, which Shakespeare wrote 400 years ago yet remains utterly relevant and contemporary. I’m so very sad that you never received the appreciation and recognition that you richly deserved. We will battle on, my dear, so sleep well in the peace that comes from work well done, the brilliant imprint of your soul that you left behind for us on film.



With so much love from your director & friend,
Ing K
Bangkok in Lockdown,
11 April 2020




0 comments: